วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตำนานบั้งไฟพญานาค


บั้งไฟพญานาค หรือชื่อที่เรียกกันในก่อนปี พ.ศ. 2529 ว่า บั้งไฟผี  เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกลางแม่น้ำโขง เห็นได้จากทั้งฝั่งไทยและลาว ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืน  บั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาของแต่ละปี
บั้งไฟพญานาคยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้แน่ชัด แต่มีคำอธิบายสามแนวทาง คือ เป็นปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติตามตำนาน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และเป็นการกระทำของมนุษย์

ลักษณะ
                   


การเกิดบั้งไฟพญานาค บั้งไฟจะเอนเข้าหาฝั่ง หากขึ้นกลางแม่น้ำโขง แต่หากขึ้นริมฝั่ง บั้งไฟจะเอนออกไปกลางโขง ลักษณะเป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าไข่ห่านหรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น
โดยบั้งไฟพญานาคจะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อย ๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ 

บริเวณที่พบ







ตำแหน่งที่บั้งไฟพญานาคมักจะปรากฏให้เห็นว่า ทั่วทั้งจังหวัดหนองคาย มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 20 จุด โดยในจังหวัดหนองคายเกิดขึ้นหลายจุด แต่จุดที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี มีผู้พบเห็นบ่อยครั้งเริ่มจากที่อำเภอสังคม บริเวณ "อ่างปลาบึก" บ้านผาตั้ง บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอสังคม ต่อมาที่บริเวณ "วัดหินหมากเป้ง  อำเภอศรีเชียงใหม่
ถัดจากนั้นก็จะพบในเขตอำเภอเมืองบ้านหินโงม ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย หน้าสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านเดื่อ ตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย พอเข้าสู่เขต อำเภอโพนพิสัยก็จะพบแทบจะตลอดลำน้ำโขง ตั้งแต่ปากห้วยหลวง ตำบลห้วยหลวง ในเขตเทศบาลตำบลจุมพล หน้าวัดไทย วัดจุมพล วัดจอมนาง หนองสรวง เวินพระสุก ท่าทรายรวมโชค ตำบลกุดบง บ้านหนองกุ้ง ซึ่งที่อำเภอโพนพิสัยจะพบมากที่สุด แล้วมาพบอีกที่อำเภอรัตนวาปี บริเวณ ปากห้วยเป บ้านน้ำเป วัดเปงจาเหนือ บ้านหนองแก้ว ในเขตอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ บ้านปากคาดมวลชล ห้วยคาด และที่อำเภอเมืองบึงกาฬ บริเวณวัดอาฮง ตำบลหอคำ ซึ่งเป็นจุดที่ชาวหนองคายเชื่อกันว่าเป็นสะดือแม่น้ำโขง เป็นเมืองหลวงของเมืองบาดาล ก็ปรากฏบั้งไฟพญานาคให้เห็นเช่นกัน
สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี มีชาวบ้านพบเห็นในอำเภอโขงเจียม กำหนดจุดชมไว้ 3 แห่ง คือ บ้านกุ่ม บ้านท่าล้ง และบ้านตามุย
สำหรับระยะเวลาในการขึ้นของบั้งไฟพญานาคนั้นจะขึ้น ระหว่างตะวันตกดินถึงประมาณ 23.00 น. ก็จะหมดไป

ตัวพญานาค



ร่องรอยบนกระโปรงรถที่เชื่อว่าเกิดจากพญานาค (ภาพจากภาพยนตร์ 15 ค่ำ เดือน 11)ร่องรอยและเรื่องเล่าต่าง ๆ เกี่ยวกับพญานาค เช่น บุญจันทร์ คำมุงคุณ ผู้ใหญ่บ้านและประธานโฮมสเตย์บ้านน้ำเป อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย เล่าว่า ตนเห็นสัตว์คล้ายงูชนิดหนึ่งอยู่ในน้ำ แต่ส่วนหัวมีลักษณะคล้ายหงอนต่างจากงูทั่วไป และดวงตามีขนาดเท่าไข่ไก่เห็นเป็นสีแดง งูนั้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร
จุมพล สายแวว เห็นรอยขนาดใหญ่เหมือนสัตว์เลื้อยคลานทั่วหลังคารถ บางรอยก็เกิดขึ้นบริเวณริมแม่น้ำโขง นอกจากนี้ เขาได้เห็นภาพและถ่ายวิดีโอสิ่งมีชีวิตลักษณะลำตัวยาว คาดว่ามีหลายตัว เล่นน้ำอยู่กลางลำน้ำโขง ใกล้กับพระธาตุกลางน้ำ คนเชื่อกันว่า พญานาคขึ้นมานมัสการพระธาตุ



 อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 4

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน            

รหัสวิชา 0026 008



นาย ณัฐภัทร เร่งมานะวงษ์    รหัส 56011210080


1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อล่ะ 3ชนิด
            1.1 การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
                        -แฟลตไดห์
                        -การ์ด หรือ เมมเมอร์รี่
                        -blog
            1.2 การแสดงผล
                        -จอภาพ
                        -อุปกรณ์ฉายภาพ
                        -เครื่อวพลอตเตอร์
            1.3  การประมวลผล
                        -ซีพียู
                        -เมมบอร์ด

 1.ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความที่สัมพันธ์กัน
     8     ซอฟต์แวร์ประยุกต์                                                                        1.   ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผลข้อมูล
     3      Information Technology                                                              2.   e-Revenue
     1     คอมพิวเตอร์ ในยุคประมวลผลข้อมูล                                                              3.   เทคโนโลยีต่างๆที่นำมาประยุกต์ใช้ในการ ดำเนินการเกี่ยวกับ
                                                                                    สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็ว
                                                                                    ต่อการนำไปใช้
     6      เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย                                                              4.   มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium
                                                                                    และ Decoder
    10     ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่ม                                                            5.   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงาน
             ประสิทธิภาพในการทำงาน                                  หนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย      
     7      ซอฟต์แวร์ระบบ                                                                        6.   เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลการสื่อสารโทรคมนาคมและ
                                                                                     เทคโนโลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
     9      การนำเสนอบทเรียนในรูป                                                                 7.   โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในระบบ
             มัลติมิเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วย                    คอมพิวเตอร์
             ตัวเองได้ตามความสามารถ
    5       EDI                                                                               8.   โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท

    4       การสื่อสารโทรคมนาคม                                                                                9.   CAI


บทที่ 2

แบบฝึกหัด
บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม
เทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ
1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
1.1  E-Learning คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง
1.2 ห้องสมุด คือแหล่งสารนิเทศ บริการทรัพยากรสารนิเทศในรูปแบบต่างๆ
1.3การใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการศึกษาๆ

2.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ  พาณิชย์  และสำนักงาน
                2.1 งานจัดเตรียมเอกสาร เช่น การใช้เครื่องประมวลผลคำหรือเครื่องประมวลผลเนื้อหา เป็นเครื่องมือในการจัดเตรียมอุปกรณ์ ประกอบการใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โมเด็มและช่องทางการสื่อสาร
                2.2
 งานกระจายเอกสาร เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทเลเท็กซ์ โทรสาร ระบบการประชุมทางไกล เป็นต้น
                2.3
 งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร สามารถปฏิบัติได้ทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือผ่านเครือข่าย โทรคมนาคมรูปแบบอื่นๆ เช่น ระบบงานฐานข้อมูล เป็นต้น

3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
                3.1 สื่อหนังสือพิมพ์ เป็นแหล่งเผยแพร่สารสนเทศ ข่าวสาร เหตุการณ์ สาระความรู้ ผ่านทางสิ่งพิมพ์ที่ออกอย่างต่อเนื่อง
              3.2 สื่อวิทยุ เป็นแหล่งเผยแพร่สารสนเทศ ประเภทข่าว เหตุการณ์สำคัญ สาระความรู้ในเรื่องที่ประชาชนสนใจ และให้ความบันเทิง ผ่านทางเสียง
              3.3 สื่อโทรทัศน์ สื่อโทรทัศน์เป็นแหล่งเผยแพร่สารสนเทศเช่นเดียวกับวิทยุ ได้แก่ ข่าว เหตุการณ์สำคัญ สาระความรู้ในเรื่องที่คนทั่วไปสนใจ ผ่านทางเสียง ภาพ และข้อความ

4.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
4.1 เครือข่ายของผู้ขายหรือผู้ส่งมอบ (Supplier Network)       
4.2 อุตสาหกรรมการผลิต (Manufactures)
 4.3 เครือข่ายของลูกค้า (Customer Network)
5.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในวิชาชีพทางการแพทย์
            5.1 ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
            5.2 การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างเขตด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
            5.3 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้ 
6. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ
                6.1 ใช้ในการยิงจรวจ เพื่อความแม่นยำและถูกเป้าหมาย
                6.2 แผนที่ 3 มิติ ในการเดินเรือ รวมถึงระบบสื่อสารทางไกล
                6.3 กล้องวงจรปิดตาม สัญญาณไฟจราจร
7.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
                7.1 การสร้างโมเดลตึก บ้าน ถนน 3 มิติ เพื่อดูความปลอดภัยการออกแบบและง่ายต่อการทำงาน
                7.2 วิเคราะห์ข้อมูลรวมถึงสรุปผลในงานออกแบบ และการก่อสร้าง
                7.3 ใช้ควบคุมหุ่นยนต์ในการผลิต ของโรงงาน
8.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม
8.1 ใช้ไอทีเป็นสื่อ (Media)ในการ สื่อสาร เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรนอกเหนือจากสื่ออื่น ๆ
8.2 จัดทำโปรแกรมเพื่ออำนวยประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม
8.3 ประยุกต์ใช้ไอทีในการสืบค้นข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการเกษตรจากแหล่งความรู้

9.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับคนพิการต่างๆ
            9.1 เครื่องอ่านหน้าจอ (Screen Reader) ทำหน้าที่แปลงข้อมูลบนจอภาพให้เป็นเสียง ซึ่งสามารถได้ยินจากเครื่องสังเคราะห์เสียง
                9.2 เครื่องขยายหน้าจอ (Screen Enlarge ment) ทำหน้าที่ขยายตัวอักษรหรือรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้บุคคลที่สายตาเลือนลางสามารถอ่านจอคอมพิวเตอร์ได้
                9.3 เครื่องแปลอักษรเบรลล์ (Braille Translation) ทำหน้าที่แปลข้อมูลบนจอคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นอักษรสิ่งตีพิมพ์หรือที่เป็นรูปภาพให้เป็นอักษรเบรลล์ เพื่อการแสดงผลบนจอเบรลล์


มาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่าง
น้อย 3 ข้อ

1.การให้บริการห้องสมุดที่ทันสมัย เช่น การยืม-คืน หนังสือ ที่รวดเร็วและสะดวง
2.การให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ครอบคลุมทั้งมหาลัย และรวดเร็ว
3.การให้บริการข้อมูลข่าว ผ่านระบบ SMS ที่รวดเร็ว

จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง

1.ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ในเวลาว่าง

2.ความสะดวงสบายในการใช้บริการต่างๆ ที่รวดเร็ว