ขลุ่ยไทย
ขลุ่ยเพียงออ
เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู ๔ รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี ๑๔ รูด้วยกัน
รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ยในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงเหอ ซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลงและใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมาเจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิท
การเทียบเสียงขลุ่ยไทย
เสียงโดของขลุ่ยเพียงออ เทียบได้เท่ากับ เสียง ทีแฟล็ต ในระดับเสียงทางสากล ปัจจุบันได้มีการทำขลุ่ยเพียงออที่มีระดับเสียงเท่ากับระดับเสียงสากล เรียกว่าขลุ่ยเพียงออ ออร์แกนบ้าง หรือขลุ่ยกรวดบ้าง แต่ในทางดนตรีสากลจะเรียกเป็นขลุ่ยไทยหมด จะเอาระดับเสียงมาเป็นตัวแยกขนาดเช่น ขลุ่ยคีย์ C, ขลุ่ยคีย์ D, ขลุ่ยคีย์Bb, ขลุ่ยคีย์ G เป็นต้น
วิธีการเล่น
ขลุ่ยเพียงออ
เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้นทำด้วยไม้ไผ่แต่ในปัจจุบันมีการ
นำวัสดุอื่น ๆ มาทำเช่น ไม้เนื้อแข็ง ท่อพลาสติก เป็นต้น
วิธีการฝึกหัดเป่าขลุ่ยเบื้องต้นผู้เรียนต้องรักในกนตรี
ขยันหมั่นเพียรฝึกฝนจนชำนาญ มีความอุตสาหะ มีสุขภาพร่าง
กายที่แข็งแรงสมบูรณ์ บากบั่นพยายามในการเรียนรู้
มีการวิเคราะห์เครื่องดนตรี รู้ขั้นตอนในการฝึกฝนตนเองอย่างเป็นประจำ
การฝึกหัดเป่าขลุ่ยมีวิธีการคือ ต้องรู้จักขลุ่ยเพียงออ
เลือกขลุ่ยที่ดี เรียนรู้กลวิธีการเป่าขลุ่ย ท่านั่ง การจับขลุ่ยที่ถูกลักษณะ
เป่าให้เป็นเสียง
เป่าเป็นเพลงขลุ่ย เป่าขลุ่ยเข้ากับวงดนตรีไทยต่าง ๆ โดยมีวิธีการฝึกดังนี้
1.
จับขลุ่ยทั้งสองมือ ใช้หัวแม่มือบนปิดรูค้ำก่อน มือบนใช้นิ้วชี้
นิ้วกลาง นิ้วนางปิดรูด้านบน และ มือล่างใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง
นิ้วนางและนิ้วก้อยปิดรูด้านล่าง
และให้หัวแม่มือล่างประคองขลุ่ยไว้ด้านล่างของเลาขลุ่ย
2.
ให้สัมผัสปลายนิ้วมือปิดรู้นิ้วให้สนิท
เพื่อให้เสียงเป่าไม่ผิดเพี้ยน
3.
เมื่อปิดนิ้วมือสนิทดีแล้วทุกนิ้วมือก็เริ่มเป่าออกเสียง
4.
เมื่อรู้ระดับเสียงต่ำจนถึงเสียงสูงสุดแล้ว
หัดปิดเปิดไล่นิ้วจากต่ำไปสูง ไล่จากเสียงสูงลงต่ำ
ไล่เสียงไปกลับจนคล่องจึงฝึกสลับนิ้ว
5.
ฝึกเป่าสลับนิ้ว สลับข้ามเสียงกัน เช่น โด มี ซอล ที ฯลฯ
6.
ฝึกต่อเพลง จากเพลงที่มีความคุ้นเคยก่อน
แล้วเริ่มเพิ่มเพลงให้มีความยากขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้เขียน
ผมว่าขลุ่ยเนียฝึกง่ายแต่เลิกอยากช่วงแรกอาจจะยาก
ให้ใจเย็นๆถ้าต้องการขลุ่ยดีหาร้านขลุ่ยได้ทางเว็ปก็มี
แนะนำร้านขลุ่ย ร้าน สุนัย กลิ่นบุปผา (ร้านขลุ่ยลุงจรินท์) และ
อ้วนขลุ่ยไทย ถ้าใครสนใจแนะนำให้สั่ง
ครีย์ C ครับเหมาะกับการเล่นสากล ถ้าอยากเล่นเพลงไทยก็สั่งเสียง
เพียงออเสียงเพียงออจะต่ำกว่าเสียงสากลครีย์ C
ส่วน C จะสูงเพียงออจะเป่าสากลไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมนะผมชอบ
เพียงออ เสียงจะนุ้มๆ
เป่าเพลงแบบโบราน ลาวดวงเดือน ลาวคำหอม ก็เพราะดี
ส่วนครีย์สากลนั่นใครว่าเป่าเสียงเพลงไทยเดิมไม่ได้
เป่าได้เหมื่อนกันแต่จะสามารถเป่ากับเครื่องดนตรีสากลได้กับเสียงร้องเพราะเสียงสูง
เป่าได้เหมื่อนกันแต่จะสามารถเป่ากับเครื่องดนตรีสากลได้กับเสียงร้องเพราะเสียงสูง
แนะนำให้ฝึกขลุ่ย PVc ก่อนนะครับ
อ้างอิง
รูปภาพ ร้านอ้วนขลุ่ยไทย และ ร้านสุนัยกลิ่นบุปผา (ร้านขลุ่ยลุงจรินท์)
|